กรุงเทพฯ 14 กุมภาพันธ์ 2563 – คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล (กลาง) คณบดี และ ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล (ขวา) รองคณบดี รับมอบทุนพัฒนานวัตกรรม 200,000 บาท รวมมอบทุนทั้งโครงการ 400,000 บาท และ NB-IoT ชิปเซ็ต เพื่อนำไปจัดทำอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 และระบบประมวลผล จาก กลุ่มทรู โดย ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ (ซ้าย) หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น สานต่อโครงการ Sensor for All ปีที่ 2 ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจะขยายการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่กว้างมากยิ่งขึ้น เพิ่มพื้นที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ในระยะแรกจำนวน 30 จุด ได้แก่ โครงการต่างๆ ของการเคหะแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาวิศวกร ซึ่งเซ็นเซอร์ดังกล่าวสามารถตรวจวัดได้ทั้งฝุ่น PM 2.5, PM 10, อุณหภูมิ และความชื้น พร้อมทั้งคำนวณค่า AQI แสดงผลผ่านหน้าจอเซ็นเซอร์ และส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย NB-IoT ของกลุ่มทรู แสดงผลบน Dashboard ได้แบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปประมวลผลและวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการและแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะยาวได้อย่างถูกจุดตามสภาพปัญหาจริงของแต่ละชุมชน พร้อมกันนี้ยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ www.sensorforall.eng.chula.ac.th รายงานสภาพอากาศในแต่ละจุดที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ พร้อมคำแนะนำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่คนไทย
#true #truetogether #truelab #ฝุ่นpm2.5 #pm2.5 #ฝุ่นกรุงเทพ