ไทยยูเนี่ยน เตรียมออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน เสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างทางการเงินยกระดับความเป็นผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลก พร้อมสร้างโอกาสเติบโตเชิงธุรกิจ คาดเสนอขาย 26-28 พ.ย.นี้

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr +

ตุลาคม 2562, กรุงเทพฯ  – บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยยูเนี่ยน (TU) ประกาศเดินหน้าระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน เสนอขายให้แก่นักลงทุนทั่วไปในวงเงินจำนวน 4 พันล้านบาทและส่วนสำรองเพื่อเสนอขายเพิ่มเติมจำนวน 2 พันล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน พันล้านบาท ย้ำวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างทางการเงินสอดคล้องกับโครงสร้างธุรกิจในฐานะผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลก ตอกย้ำเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว เชื่อได้รับการตอบรับจากนักลงทุน เหตุธุรกิจมีศักยภาพและโอกาสเติบโตในอนาคต สะท้อนผ่านการจัดอันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรจากทริส เรทติ้ง ในระดับ A+ และของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ระดับ A- ขณะที่บริษัทฯ ยังเดินหน้าสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน จนได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) เป็นปีที่ ติดต่อกัน และคว้าอันดับ ผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรมของโลกใน Food Industry จาก DJSI 2 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้นวัตกรรมยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของบริษัท

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป  เปิดเผยว่า ไทยยูเนี่ยนกำลังอยู่ระหว่างการจัดโครงสร้างทางการเงินให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยได้พิจารณาออกและเสนอขาย หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด และมีสิทธิเลื่อนชำระดอกเบี้ยโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 2/2562” โดยผู้ออกหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันครบกำหนด 5 ปี หรือตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลฯ และร่างหนังสือชี้ชวน อัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก 5.00% ต่อปี  จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน คาดจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป และ/หรือผู้ลงสถาบันในระหว่างวันที่ 2628 พฤศจิกายนนี้ โดยบริษัทให้ความไว้วางใจในการแต่งตั้ง ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร เป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ในครั้งนี้

 “บริษัทดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปี เราประสบความสำเร็จในการสร้างบริษัทที่แข็งแกร่งและมีผลิตภัณฑ์กว่า 14 แบรนด์ที่ขยายไปทั่วโลก  เราต้องการจัดโครงสร้างทางการเงินให้แข็งแกร่งขึ้นผ่านการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน เพื่อให้สอดคล้องกับความแข็งแกร่งของโครงสร้างธุรกิจของบริษัท และมีการเติบโตที่ต่อเนื่องและเข้มแข็ง   ไทยยูเนี่ยนนอกจากเป็นผู้ผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋องอันดับ ของโลกแล้ว เรายังมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกสูง ด้วยสินค้าที่มีความหลากหลายและจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วโลก ทำให้เราสามารถบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ”

ปัจจุบัน ไทยยูเนี่ยนนอกจากจะเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าที่คนไทยรู้จักกันดีคือ  ผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋อง ซีเล็ค (SEALECT)  อาหารทานเล่น ฟิชโช (Fisho) และโมโนริ (Monori) อาหารทะเลคุณภาพสดใหม่ คิวเฟรช (Qfresh) และเคาน์เตอร์อาหารทะเลธรรมชาติ ซีฟู้ด และอาหารสัตว์เลี้ยง Belotta และ Marvo แล้ว  ไทยยูเนี่ยนยังมีแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก ได้แก่ John West แบรนด์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องอันดับ ในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์   Petit Navire และ Parmentier ซึ่งเป็นแบรนด์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องชั้นนำของประเทศฝรั่งเศส  Mareblu ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าในประเทศอิตาลี  Rügen Fisch ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปในประเทศเยอรมัน  Chicken of the Sea  ซึ่งเป็นแบรนด์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องอันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกา และ Genova ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทูน่าระดับพรีเมียมในตลาดสหรัฐอเมริกา รวมถึง King Oscar แบรนด์ชั้นนำซาร์ดีนอันดับ ในประเทศสหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ และออสเตรเลีย เป็นต้น

ไทยยูเนี่ยน ยังคว้าอันดับ ผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรมของโลกใน Food Industry 2 ปีติดต่อกันในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เป็นปีที่ ติดต่อกัน โดยมี SeaChange® หรือกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนเป็นตัวขับเคลื่อนความยั่งยืนของบริษัททั่วโลก

นอกจากนี้ ศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน ที่ตั้งขึ้นในปี 2558 ยังเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทในเครือทั่วโลก รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อมาพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตและหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับลูกค้า ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงทางวิทยาการโภชนาการสมัยใหม่เข้ากับนวัตกรรมการผลิต เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมอาหารโลก นักวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาเอกมากกว่า 40 ท่านและนักวิจัยกว่า 120 คนทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล วิศวกรรม ชีวการแพทย์ ศาสตร์ทางด้านอาหารและโภชนาการจากทั่วโลก 

อ่านต่อ
Share.

Comments are closed.