สสว. ผนึก ม.ศิลปากรเดินหน้าหนุนโครงการ “DigitalContent Cluster DAY” ปี 2

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr +

สสว. ผนึก ม.ศิลปากร ขับเคลื่อนโครงการ “Digital Content Cluster DAY” ปี 2 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนต์ ชูความสำเร็จจากโครงการฯ  ผลงาน Hey Buddy แอนิเมชันสร้างสรรค์โดย บริษัท บิ๊กเบรนพิคเจอร์ส ร่วมทุนกับประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมและสมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย (DCAT) ดำเนินการร่วมกับคณาอาจารย์มหาวิทยาลัยกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Content ประกาศขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนต์ไทยให้เข้มแข็งยั่งยืน

นางลักขณา  ตั้งจิตนบ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า  ปัจจุบันดิจิทัล คอนเทนต์ เข้ามามีบทบาทอยู่ในอุตสาหกรรมแทบทุกแขนง และยังสามารถนำมาประยุกต์ และต่อยอดในธุรกิจด้านต่างๆ ได้อย่างไม่จำกัด และถือเป็นอุตสาหกรรมที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ เพราะต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีมาประกอบกันเพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพ อุตสาหกรรม Digital Content  นี้สามารถสร้างรายได้กลับเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล ถ้าหากได้รับการสนับสนุนอย่างเป็น รูปธรรมและมีแนวทางที่เป็นสากล  ในปีที่ผ่านมาทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่าย Digital Content ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562  ในชื่อโครงการ “Digital Content Cluster DAY”  ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจ  โดยส่งเสริมและสนับสนุนเอสเอ็มอี(SME) ที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ  โดยเล็งเห็นถึงความสําคัญรวมกลุ่มของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งการพัฒนาผู้ประกอบการโดยการสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มหรือเครือข่าย ทําให้เกิดความเข้มแข็ง จําเป็นจะต้องนําเอาแนวคิดในการพัฒนาคลัสเตอร์มาเป็นเครื่องมือดําเนินการ โดยเน้นการกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการ โดยคํานึงถึงความต้องการของตลาด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ โดยการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บริการ รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการตลาดในเชิงรุกผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับสร้างการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ของไทยให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยการพัฒนา Digital Content Cluster กลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบการ

สำหรับเครือข่ายผู้ประกอบการ มี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.เครือข่ายผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมการออกแบบและซื้อขายลิขสิทธิ์ตัวละคร (Character Design and Licensing) 2.เครือข่ายผู้ประกอบการสินค้าตัวละคร (Character Merchandising)  3.เครือข่ายผู้ประกอบการด้านการสร้างคอนเท้นต์แอนิเมชัน (Animation IP)  4.เครือข่ายผู้ประกอบการรับผลิตแอนิเมชัน (Animation Service) และ 5.เครือข่ายผู้ประกอบการด้านการให้บริการด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG Service)

 ทางด้าน ผศ.ณัฐพร กาญจนภูมิ รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม. ศิลปากร และในฐานะคณะดำเนินงาน กล่าวว่า  จากนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุน และประสานความร่วมมือด้านวิชาการ ระหว่างหน่วยงาน องค์กร เพื่อถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างบุคลากรทางสายวิชาการและสายวิชาชีพ เพื่อให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ  รวมทั้งม.ศิลปากร ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาบุคคลากรทางด้าน Digital Content มากว่า 15 ปี ที่ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมฯ  ซึ่งม.ศิลปากรมีความเชื่อว่าในการสร้างบุคคลากรที่สามารถ บูรณาการความรู้ ด้านการออกแบบและสร้างสื่อเทคโนโลยีด้านดิจิทัล และธุรกิจการตลาด เข้าด้วยกัน  ในปีที่ผ่านมาทางมหาวิทาลัยฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กับภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์  จัดทำโครงการ “Digital Content Cluster DAY” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2  นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าองค์ความรู้และกิจกรรมต่างๆ ที่ได้จัดขึ้นนี้ จะช่วยในการพัฒนาขีดความ สามารถของอุตสาหกรรมไทยด้าน Digital Content ให้เจริญรุ่งเรืองขยายตลาดไปสู่ตลาดโลกมากขึ้น รวมถึงสามารถพัฒนาศักยภาพบุคคลากรในการรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้จะเห็นได้จากผู้ประกอบการกับผลงาน Hey Buddy เป็นแอนิเมชันสร้างสรรค์โดย บริษัท บิ๊กเบรน         พิคเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็น 1 ในผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Thailand Animation Pitch 2018 (TAP) ในกิจกรรมพัฒนาเครือข่าย Digital Content ภายใต้ในโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561 จัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ต่อยอดความสำเร็จนำไปสู่การประกวดในงาน Asian Animation Summit 2018 (AAS 2018) สนับสนุนโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP โดยมีสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) เป็นผู้ประสานงาน และยังได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมทุนกับประเทศอินเดีย ในการผลิตเป็นการ์ตูนในรูปแบบ Non Verbal Animation นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP โดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ  สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มหาวิทยาลัยศิลปากร บริษัท บิ๊กเบรนพิกเจอร์ จำกัด Toonz media group  และสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) รวมถึง บริษัท การ์ตูนคลับ มีเดีย จำกัด พันธมิตรด้านการตลาดให้แก่ บิ๊กเบรนพิกเจอร์ อาทิ การซื้อขาย การเจรจา และการประชาสัมพันธ์

จากผลสำรวจอุตสหากรรมดิจิทัล คอนเทนต์ของสำหนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)  แนวโน้มการเติบโตในปี 2561 มูลค่าดิจิทัลคอนเทนต์ในไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 27,005 ล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาทในปี 2562  ก่อให้เกิดรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศและเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยปัจจัยการเติบโตมาจากการขยายตัวของสื่อดิจิทัลและด้านการผลิตของภาอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ จากรายงานปี 2560 มูลค่าการผลิตและส่งออกงานแอนิเมชัน เกม และคาแรคเตอร์มีมูลค่าถึง 1,851ล้านบาท เป็นอัตราการเติบโตเทียบกับปีก่อนหน้า 50 %  และปี 2561 มีมูลค่า 1,998 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมแอนิเมชันมีมูลค่าส่งออก 1,428 ล้านบาท ขณะที่สาขาเกมมีมูลค่าการส่งออกแตะที่ยอด 398 ล้านบาทซึ่งมีมูลค่าลดลงกว่าปีก่อนหน้าที่มีมูลค่าการส่งออก 435 ล้านบาท สำหรับสาขาคาแรคเตอร์มีมูลค่าการส่งออกรวม 25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีมูลค่าส่งออก 14 ล้านบาท 

ทั้งนี้ สสว. และ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการ 5 เครือข่าย โดย สมาคมแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกแห่ง ประเทศไทย (TACGA) และสมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย (DCAT) ดำเนินการร่วมกับ        คณาอาจารย์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Content ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ จนเกิดกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ และสามารถนำไปต่อยอดกับอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยการดำเนินโครงการฯ ตลอด 2 ปี ถือว่าเป็นอีกก้าวของความสำเร็จในการต่อยอดธุรกิจ ตัวแทนผู้ประกอบการด้านดิจิทัล คอนเทนต์ในการแบ่งปันความสำเร็จเข้าร่วมโครงการฯ สร้างประโยชน์ในด้านใด และสามารถนำสิ่งที่ได้จากโครงการไปต่อยอดสำหรับการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจต่อไป

นอกจากนี้ภายในงานยังได้จัดกิจกรรม  Animation Project Pitching โดยให้ผู้สร้างแอนิเมชันนำเสนอผลงานต่อนักลงทุน สื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี 5 ผลงานจาก 5 บริษัท ได้แก่ Creative Bean Studio Co., Ltd. : “มนุษย์ลูก” The Musical บริษัท Jin Jint Co.,Ltd : Glow in the Dark Monster บริษัทRAYNOTE : THRONES บริษัทThe Monk Studios Co., Ltd. : X-rabbits และบริษัท Wanchalerm chootragool : Food runner  นอกจากนี้ ยังมีเวทีสัมมนากับหัวข้อ How to use Character ? โดย คุณสันติ เลาหบูรณะกิจ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด กูรูในวงการดิจิทัลคอนเทนต์ มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ในเรื่องการนำคาแรกเตอร์ รวมถึงบริการด้านดิจิทัลคอนเทนต์ไปต่อยอดได้อย่างไรในธุรกิจยุค 4.0  ปิดท้ายด้วยกิจกรรมจัดแสดงผลงานของกลุ่มผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนต์ พร้อมการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า ที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ 5 เครือข่าย Character Design and Licensing, Character Merchandising, Animation IP, Animation Service, CG Service  กับกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มอุตสาหกรรมข้างเคียงหรือต่อเนื่องดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://web.facebook.com/DCCluster/

อ่านต่อ
Share.

Comments are closed.