ผลสำรวจจากซีบราเผย องค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เห็นตรงกันว่า การลงทุนด้านเทคโนโลยีพกพา เป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางธุรกิจ

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr +

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 11 กรกฏาคม 2019 – ซีบรา เทคโนโลยีส์ (NASDAQ: ZBRA) ผู้นำนวัตกรรมด้านโซลูชั่นที่ทันสมัยสำหรับองค์กร และเครือข่ายคู่ค้าที่ครอบคลุมเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้แก่องค์กรยุคใหม่ เปิดเผยผลงานวิจัยเกี่ยวกับ อนาคตการปฏิบัติงานภาคสนาม (Future of Field Operations)  ว่าองค์กรด้านการขนส่งในเอเชียแปซิฟิกกว่า 60% จะเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์พกพามากขึ้นเรื่อยๆ โดยผลงานวิจัยจากซีบรายังชี้ให้เห็นว่าการลงทุนนั้นจะมุ่งเน้นไปทางด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก และในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาระดับใช้งานในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานภาคสนาม และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับบริการ โดยธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและถูกสำรวจในรายงานนี้ได้แก่  ธุรกิจระบบการจัดการพาหนะขนส่ง ธุรกิจบริการภาคสนาม ธุรกิจที่ให้บริการด้านหลักฐานในการขนส่ง และธุรกิจที่ให้การดูแลทุกขั้นตอนการส่งสินค้าไปจนถึงมือผู้รับ

มร. ทาน อิ๊ก จิน, ผู้จัดการฝ่ายเวอร์ติคอลโซลูชั่น อุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง และโลจิสติกส์ ประจำเอเชียแปซิฟิก, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ความคาดหวังของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสั่งสินค้า การยกระดับการบริการภาคสนามให้แตกต่างจากคู่แข่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เอง ธุรกิจจึงเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองด้านการลงทุนโดยหันมาให้ความสำคัญกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพามากขึ้น โดยงานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า ความท้าทายภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่แปรผันตามความต้องการตลาด เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และระบบฉลากบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (intelligent labels) มาปรับใช้ เพื่อยกระดับการทำงานให้ทันสมัย”

คุณศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “จากผลสำรวจของเราพบว่า 3 สิ่งหลักที่ส่งผลให้องค์กรด้านการขนส่งทั่วเอเชียแปซิฟิกต้องปรับเปลี่ยนการให้บริการเนื่องจาก ความคาดหวังเรื่องประสิทธิภาพและบริการที่ได้รับผู้ของบริโภคในยุคปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น  เทรนด์การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาแทนการใช้กระดาษได้รับความนิยมมากขึ้น และการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่และระบบเครือข่ายที่มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น   มากกว่าครึ่งขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาระดับใช้งานในองค์กรมาใช้เป็นอันดับหนึ่ง โดยองค์กรที่มีความคิดก้าวหน้าเหล่านี้ใช้ 3 กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง กล่าวคือ องค์กรเหล่านี้จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร องค์กรเหล่านี้จะทำการวิเคราะห์ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO)เทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ ท้ายสุดคือองค์กรเหล่านี้จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ”

จากรายงานยังมีผลสำรวจที่น่าสนใจได้แก่;

การให้พนักงานที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาระดับใช้งานในองค์กร ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจ

  • 44% ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิก ให้ความสำคัญกับการลงทุนในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา
  • 58% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขยายการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาให้ทั่วถึงในทุกส่วนขององค์กร และมีแนวโน้มที่จะแพร่หลายไปยังองค์กรอื่นๆมากถึง 97% ของภูมิภาค ในปี 2023
  • ผลสำรวจคาดการณ์ว่า ในระหว่างปี 2018 จนถึงปี 2023 อัตราส่วนการใช้งานคอมพิวเตอร์พกพาที่มาพร้อมเครื่องสแกนบาร์โค้ดในตัวจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 41 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการใช้เครื่องพิมพ์พกพาและแท็บเล็ตสำหรับงานภาคสนาม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์และ 57 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ซึ่งความถูกต้องแม่นยำต่อการจัดการสินค้าในคลัง การจัดส่ง และในการตรวจสอบสินค้าคงคลังจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่องค์กรเพิ่มขึ้น

การบริการและการสนับสนุนดูแลหลังการขายเป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรคำนึงถึงเมื่อนำอุปกรณ์พกพามาปรับใช้กับพนักงานผู้ปฏิบัติงาน

  • องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีพกพาสำหรับการทำงานกว่า 83% จะทำการวิเคราะห์ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) ก่อนการวิเคราะห์รายจ่ายการลงทุนในเทคโนโลยี
  • มีเพียง 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้น ที่เชื่อว่าสมาร์ทโฟนที่ใช้งานได้ทั่วไปมี TCO สูงกว่าสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระดับใช้งานในองค์กร

การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ และเครือข่ายเชื่อมต่อที่เร็วยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการปฏิบัติงานภาคสนาม

  • องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีพกพาสำหรับการทำงานมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเร็วกว่าองค์กรอื่นๆ
  • มีการคาดการณ์ว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีพกพาสำหรับการทำงานมีแนวโน้มดังต่อไปนี้
    • หันมาใช้งานระบบเซนเซอร์ เทคโนโลยีการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ (RFID) และระบบฉลากบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะเพิ่มมากขึ้น จาก 76% ในปี 2018 เป็น 98% ในปี 2023
    • นำเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) มาใช้ในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น จาก 68% ในปี 2018 เป็น 95% ในปี 2023  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการรายละเอียดขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการสินค้า
    • เพิ่มการใช้ Blockchain เพื่อควบคุมข้อมูลสินค้า หรือเอกสารจากบริษัทคู่ค้า  โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 68% ในปี 2018 เป็น 96% ในปี 2023

ผลสำรวจจากทุกภูมิภาค พบว่า

  • ทวีปเอเชีย แปซิฟิกผลสำรวจพบว่า 44% ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่ซีบราได้ทำการสำรวจ มีความเห็นว่าการโหลดดิ้งสินค้าอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาทดแทนกระบวนการทำงานรูปแบบเดิมเป็นอย่างมาก และจากทั่วโลก มีองค์กรที่เห็นด้วยกับความเห็นดังกล่าวราว 28%
  • ทวีปยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกาพบว่า 70% ของภาคธุรกิจ มีความคิดเห็นว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ผลักดันให้การปฏิบัติงานภาคสนามต้องทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • ทวีปละตินอเมริกาพบว่าองค์กรจำนวนมากถึง 83% ของภูมิภาค หรือเทียบได้เป็น 70% จากทั่วโลก มีความเห็นว่าเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง (4G / 5G) เป็นตัวช่วยสำคัญในการผลักดันการลงทุนด้านเทคโนโลยีสำหรับการขนส่ง
  • ทวีปอเมริกาเหนือ: พบว่า 36% ขององค์กรที่สำรวจจะเริ่มนำแท็บเล็ตระดับใช้งานในองค์กรเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานในปีหน้า

ความเป็นมาและขั้นตอนการสำรวจ

  • ผลสำรวจของซีบรา เทคโนโลยีส์ ในชื่อ “The Future of Field Operations Vision study” แสดงสาเหตุหลักที่องค์กรต่างๆเริ่มหันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพามากขึ้น เป็นอันดับแรกในการพัฒนาเชิงธุรกิจ โดยพบว่าองค์กรต่างๆ วางแผนการลงทุนใช้งบประมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งเพื่อพัฒนาเชิงรุก เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง รวมถึงพัฒนาระบบต่างๆให้การขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่น
  • ซีบรา เทคโนโลยีส์ ทำการสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจตัดสินใจในการใช้งบประมาณลงทุนทางธุรกิจ จำนวน2,075 ราย จาก 20 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล เม็กซิโก โคลอมเบีย ชิลี อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส เยอรมัน สหราชอาณาจักร อิตาลี สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
อ่านต่อ
Share.

Comments are closed.